เมนู

9. อุปนิสสยปัจจัย


[85] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อเหตุกธรรม และโมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

4. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย และแก่โมหะ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัย
แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย และแก่โมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
โมหะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย และแก่โมหะ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ และโมหะ เป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย และแก่โมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยะ
ปัจจัย.
5. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ฯลฯ
โมหะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

สุขทางกาย ฯลฯ และโมหะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา
แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
6. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย และโมหะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
8. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม และโมหะ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
9. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ
โมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[86] 1. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็น
วิบาก ที่เป็นอเหตุกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.